คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมพ.ศ. 2481 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มเปิด "แผนกวิชาการบัญชี" และ "แผนกวิชาพาณิชยศาสตร์" สังกัดคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงได้สถาปนาเป็นคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ผลิตบุคลากรเพื่อสนองความต้องการของธุรกิจของประเทศซึ่งมีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากขึ้น
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับหนึ่งของไทยในสาขา การเงินและการบัญชี ( อันดับที่ 101 - 150 ของโลก และเป็นแห่งเดียวในประเทศที่ติดอันดับ ) และ การบริหารธุรกิจและการจัดการ ( อันดับที่ 151 - 200 ของโลก ) จากการจัดอันดับของ QS world university ranking by Subject
ชื่อของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีในภาษาอังกฤษ คือ Faculty of Commerce and Accountancy นั้น มักจะต้องมีการชี้แจงเพิ่มเติมว่าหมายถึง Business School ที่มีการเรียนการสอนทางด้านบริหารธุรกิจ ซึ่งคำว่า Business School นั้นเป็นชื่อที่เข้าใจได้ทันทีและใช้กันอย่างแพร่หลายในคณะฯที่มีการเรียนการสอนทางด้านบริหารธุรกิจ และมักจะใช้ควบคู่ไปกับชื่อของมหาวิทยาลัย เช่น Harvard Business School ซึ่งหมายถึง School of Business ของ Harvard University ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารประชาสัมพันธ์ของคณะฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้สังคมภายนอกได้รับทราบว่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะฯจึงได้เริ่มใช้ชื่อ Chulalongkorn Business School พร้อมกับสัญลักษณ์ใหม่ที่ได้คัดเลือกจากแบบที่ออกมาหลายๆแบบ ซึ่งสัญลักษณ์ใหม่นี้จะใช้คู่ไปกับชื่อที่เป็นทางการของคณะฯ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยได้เริ่มใช้กับกิจกรรมที่จัดขึ้นในการฉลองครบรอบ 70ปี ของการดำเนินงานของคณะฯเป็นครั้งแรก และต่อไปก็จะใช้ในการประชาสัมพันธ์คณะฯ ทั้งในเอกสารคู่มือ รวมถึงในนามบัตรของอาจารย์และ บุคลากรของคณะฯด้วยคำอธิบายตราสัญลักษณ์ CBS ย่อมาจาก Chulalongkorn Business school
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจาก AACSB (The Association to Advance Collegiate Schools of Business) จากประเทศสหรัฐอเมริกา และ EFMD (The European Foundation for Management Development) จากยุโรป โดย AACSB ให้การรับรองหลักสูตรทั้งคณะเป็นเวลา 5 ปี ขณะที่ EFMD ให้การรับรองเฉพาะหลักสูตรที่ยื่น ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) เป็นเวลา 3 ปี และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตเป็นหลักสูตรเดียวที่เปิดสอนนอกยุโรปแล้วได้รับการรับรอง EPAS (EFMD Programme Accreditation System) นาน 5 ปี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจแห่งแรกในไทยที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับโลกจาก AACSB ครบทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก อีกด้วย
ทั้งนี้ AACSB ยังได้รับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีให้กับสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในระดับโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกา อาทิ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์(MIT), มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, มหาวิทยาลัยเยล ,มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ และในประเทศสหราชอาณาจักร อาทิ ราชวิทยาลัยลอนดอน(Imperial College London) เป็นต้น
สาขาการเงินและการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับ 101 - 150 ของโลก อันดับ 1 ในไทย เป็นแห่งเดียวในประเทศที่ติดอันดับในสาขานี้
จำนวนอาจารย์
ปีการศึกษา 2553 คณะฯ มีอาจารย์ประจำทั้งสิ้น 126 คน โดยมีอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก กว่า 79 คน คิดเป็นร้อยละ 62.70 ปัจจุบัน รายชื่ออาจารย์จำแนกตามหน่วยงาน (ยกเว้น ภาควิชาการตลาด) เป็นดังนี้
จำนวนบัณฑิต
สำหรับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาของคณะฯ จากอดีตจนถึงปีการศึกษา 2552 มีจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับดังนี้
จำนวนนิสิตปัจจุบัน
จำนวนนิสิตในแต่ละชั้นปีรวมทั้งสิ้น 5,247 คน (ข้อมูลภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2554) ประกอบด้วย
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย